Vastus Lateralis อ่านว่า แวทัส เลเทอราลิส ตั้งอยู่ทางด้านข้างของต้นขา เป็นกล้ามเนื้อต้นขาที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากล้ามเนื้อควอดไตรเซ็ปส์ มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวทุกท่วงท่ากิจกรรมของขา ไม่ว่าจะการเดิน, การวิ่ง, หรือการกระโดด ในร่างกายมนุษย์มีกลไกทางชีวกลศาสตร์ที่ซับซ้อนบทความนี้จะพาคุณไปศึกษาข้อมูลถึงโครงสร้าง, ความสำคัญ และการดูแลรักษาเพื่อให้ใช้กล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน
ทำความรู้จักโครงสร้าง Vastus Lateralis
-
องค์ประกอบหลัก
แวสทัล เลเทอราลิส เป็น 1 ใน 4 กล้ามเนื้อใหญ่ที่สุดในบรรดากลุ่มต้นขาด้านหน้า Quadriceps (248) มีลักษณะแบนกว้าง เริ่มต้นจากส่วนบนของต้นขาแล้วลากยาวลงไปถึงเข่า มีหน้าที่ร่วมกับเข่าและสะโพก ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของขา รวมถึงรองรับแรงกระแทก
-
จุดเกาะต้นและจุดเกาะปลาย
เริ่มต้นจากส่วนบนของกระดูกฟีเมอร์ มันลากลงมาทางด้านข้างของต้นขาแล้วไปเกาะที่เอ็นร้อยหวาย Zpatellar tendon เอ็นนี้จะเกาะต่อไปที่กระดูกแข้ง (tibia) ซึ่งช่วยให้สามารถเหยียดขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่หลักของ Vastus Lateralis
-
การเคลื่อนไหวหลัก
การทํางานของกล้ามเนื้อนี้มีความจําเป็นอย่างยิ่งในกิจกรรมพื้นฐาน มีหน้าที่ร่วมกับเข่าและสะโพกที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของขาในชีวิตประจำวัน เช่น ลุก,นั่ง,ยืน หรือเดิน เป็นต้น และการออกกำลังกายแบบ leg exercises (52) เช่น ท่า Squat (57) ที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานโดยตรง
-
หน้าที่สนับสนุนในกลไกอื่น ๆ
นอกเหนือจากขาและสะโพกโดยตรงแล้ว แวสทัล เลเทอราลิส ยังให้ความมั่นคงแก่ต้นขาด้านข้าง รวมไปถึงช่วยรองรับแรงกระแทก เช่น เมื่อชะลอความเร็วจากการวิ่งเร็วหรือในช่วงลดน้ำหนักลงในท่า leg press (182)
การบาดเจ็บที่พบบ่อย
-
การบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำ ๆ
เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขาที่ซ้ำ ๆ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแวสทัล เลเทอราลิท มักเกิดขึ้นกับนักกีฬาวิ่งหรือผู้ที่ออกกำลังขาเป็นประจำ เช่น ท่า leg dumbbell workouts (41) ที่ทำทางไม่ถูกต้องหรือไม่มีพักกล้ามเนื้อที่เหมาะสม อันเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้
-
การบาดเจ็บเฉียบพลัน
แวสทัล เลเทอราลิส แม้จะพบได้น้อยกว่าแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การชนกระแทกในกีฬา ทำให้เกิดอาการฟกช้ำ หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดรุนแรง
การออกกําลังกายที่มีประสิทธิภาพของแวสทัล เลเทอราลิส
-
ท่าออกกําลังแบบเน้นเฉพาะส่วน
ท่าทางเหมาะสมที่มุ่งเน้นที่ไปกล้ามเนื้อนี้ คือ การเหยียดขา แต่ก็ยังมีอีกท่าที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน คือ dumbbell lunge (92) ซึ่งกระตุ้นกล้ามเนื้อนี้ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมดุลยภาพและความแข็งแรงโดยรวมของขา
-
ท่าออกกําลังกายแบบผสมผสานที่เกี่ยวข้อง
ท่าออกกําลังรวมกล้ามเนื้ออย่าง compound movements (162) เช่น สควอต, เดดลิฟต์, และลันจ์ ที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้ออื่น ๆ ใกล้เคียง และให้เพิ่มอุปกรณ์จำพวก ดัมเบล, Barbell (345) หรือ bodyweight (354) เพื่อเพิ่มความเข้มข้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละบุคคล
ความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อใกล้เคียง
-
ความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อที่ทํางานร่วมกัน
แวสทัล เลเทอราลิส ทํางานร่วมกับกล้ามเนื้อกลุ่มต้นขาด้านหน้าอื่นๆ เช่น Vastus Medialis (288) และ Rectus Femoris (310) เมื่อกล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออื่น ๆ ก็จะตามหดตามเพื่อสร้างการเคลื่อนไหวของขาให้คล่องตัวและประสานงานกันได้ดี
-
การสร้างดุลยภาพระหว่างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
สิ่งสําคัญคือการสร้างดุลยภาพระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการออกกำลังกายเพื่อความยืดหยุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคูลดาวน์หลังออกกำลังกายส่วนขา ที่จะช่วยรักษาประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อแวสทัล เลเทอราลิสและกล้ามเนื้อใกล้เคียง
การใช้กล้ามเนื้อในชีวิตประจําวัน
ในทุกกิจกรรมของทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเดิน, ปั่นจักรยาน, หรือแม้แต่การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ กล้ามเนื้อนี้มีบทบาทในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีพลังการกระโดด และมีบทบาทในการพยุงตัวเมื่อยืนขาเดียว หรือเคลื่อนไหวในแนวข้าง เช่น เทนนิสหรือรําไทเก๊ เมื่อเพิ่มด้วยการฝึกแบบ Plyometrics (163) อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
การทำความเข้าใจของลักษณะ หน้าที่ และเทคนิคการดูแลกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะกล้ามเนื้อแวสทัล เลเทอราลิสมีความสําคัญต่อการเคลื่อนไหวของขาตอนล่างที่หลากหลาย ส่งผลต่อกิจวัตรประจําวันและสมรรถภาพทางการกีฬาของเราโดยตรง ดังนั้นการศึกษาความรู้โดยละเอียดก็จะสามารถช่วยให้คุณฝึกฝนท่าทางออกกำลังอย่างถูกต้อง และลดอุบัติเหตุไม่คาดฝันที่เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้
คําถามที่พบบ่อย
1. หน้าที่หลักของกล้ามเนื้อมัดนี้คืออะไร
มันมีหน้าที่ร่วมกับเข่าและสะโพกที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของขา ซึ่งจําเป็นในหลาย ๆ กิจกรรม เช่น การลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง, การเดิน, การวิ่ง และการกระโดด นอกจากนี้ยังช่วยให้ความมั่นคงแก่ต้นขาด้านข้างอีกด้วย
2. เราจะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนี้ได้อย่างไร
สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนี้ได้ ด้วยการออกกําลังเฉพาะส่วน เช่น การเหยียดขา และท่าออกกําลังแบบผสานกล้ามเนื้อ เช่น สควอตและลันจ์ หรือการออกกําลังต้านแรงต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป พยายามรักษาท่าทางให้ถูกต้อง และท่าออกกําลังขาไม่ซ้ำกัน จะช่วยให้เพิ่มความแข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีท่ายืดเหยียดเฉพาะสําหรับกล้ามเนื้อแวสทัล เลเทอราลิสหรือไม่
มีแน่นอน การยืดเส้นที่เป้าหมายไปที่ต้นขาด้านนอก สามารถเป็นประโยชน์ต่อ กล้ามเนื้อ และการยืดเหยียดท่าหนึ่งที่นิยม คือ ยืนตัวตรง ก้าวเท้าข้างหนึ่งไขว้หลังอีกข้าง แล้วโน้มตัวออกจากด้านข้างของขาที่ไขว้ การจับที่มั่นคงช่วยรักษาสมดุลในขณะยืดเหยียด
4. สภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวสามารถเกิดกับกล้ามเนื้อนี้ได้หรือไม่ ถ้าเป็นแล้วจะมีผลเสียอย่างไร
เฉกเช่นเดียวกับกล้ามเนื้ออื่นๆ กล้ามเนื้อนี้ก็สามารถเกิดอาการตึงได้ โดยเฉพาะในนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกําลังขาบ่อย ๆ ส่งผลเสียทําให้ช่วงการเคลื่อนไหวลดลง เกิดความปวดหรือครั่นเนื้อครั่นตัว เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เราแนะนำให้การยืดเหยียดและนวดด้วยลูกยางประจําช่วยลดอาการได้
อ้างอิง :
1. Verywell Health – Anatomy and Function of the Vastus Lateralis. https://www.verywellhealth.com/vastus-lateralis-anatomy-function-and-rehabilitation-4769072
2. Healthline – Vastus lateralis. https://www.healthline.com/human-body-maps/vastus-lateralis-muscle#1
3. SportSkeeda – 7 Best Vastus Lateralis Muscle Workouts to Try. https://www.sportskeeda.com/health-and-fitness/exercises-vastus-lateralis