ท่า Reverse Crunches ถือเป็นการออกกําลังกายที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการปฏิบัติ ช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อกลางลําตัวที่มีความจําเป็นอย่างมากต่อการทรงตัว สร้างความสมดุล และความแข็งแรงโดยรวมของร่างกาย ภายในบทความนี้จะพูดถึงวิธีการทําท่ารีเวิร์ส ครันช์ กล้ามเนื้อที่ใช้งานระหว่างออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนท่าออกกําลังกายรูปแบบต่างๆ เพื่อให้การออกกำลังกายมีความหลากหลายและท้าทายมากยิ่งขึ้น
วิธีการทํา Reverse Crunches
- นอนราบกับพื้นหรือใช้เสื่อโยคะ (28) วางมือข้างๆ ลำตัว ฝ่ามือคว่ำลง
- งอเข่าแล้วยกขาเข้าหาหน้าอก ทำมุม 90 องศากับพื้น
- กดฝ่ามือลงบนพื้นให้แน่น เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อกลางลําตัว (core muscle workout) (326)
- งอสะโพกขึ้นจากพื้นเข้าหาหน้าอก โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องยกตัวขึ้นแทนการใช้แรงดีด
- ค่อยๆ วางสะโพกลงโดยไม่ให้เท้าถูกพื้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไว้
- ทําซ้ําตามจํานวนครั้งที่ต้องการ
กล้ามเนื้อหลักที่ถูกฝึกด้วยท่ารีเวิร์ส ครันช์
กล้ามเนื้อหลักที่ถูกใช้งานเมื่อทำท่านี้ คือ กล้ามเนื้อตรงกลางหน้าท้อง (Rectus Abdominis) ที่รู้จักกันในชื่อ ‘abs’ กล้ามเนื้อตรงส่วนนี้ทําหน้าที่งอและหดสะโพก มีความสําคัญอย่างมากในการรักษาท่าทางและการหายใจ
นอกจากนี้กล้ามเนื้อรอง เช่น กล้ามเนื้อข้างลําตัว (Obliques) (250) และ กล้ามเนื้อหุ้มทรวงอก (Transversus Abdominis) (300) ก็ได้รับการฝึกฝนเช่นกัน ท่านี้ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกลางลําตัว ทําให้กระดูกสันหลังมีเสถียรภาพ และช่วยเคลื่อนไหวในชีวิตประจําวัน
การออกกําลังท่า Reverse Crunches แบบอื่นๆ
- แบบยกขาขึ้นข้างบน : เริ่มจากท่าเริ่มต้นเดิม แทนที่จะงอสะโพกขึ้น ให้เหยียดขาขึ้นเพดานแล้วค่อยวางลง โดยไม่ให้เท้าถูกพื้น
- แบบใช้ลูกบอลโยคะ: วางขาและเท้าไว้บนลูกบอลโยคะ (Yoga Ball) (124) แล้วทําท่ารีเวิร์ส ครันช์
- แบบใช้ยางยืดออกกำลังกาย : คล้องยางยืดออกกำลังกาย (111) รอบเท้าเพื่อเพิ่มความท้าทายให้กับการออกกําลัง
การนําท่านี้ไปใช้ในการออกกําลัง
สามารถเพิ่มเข้าไปในการออกกําลังกล้ามเนื้อท้อง (abs workout) (54) ได้ทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังสามารถผสมผสานกับการออกกําลังกายอื่นๆ เช่น ท่านอนราบบนพื้นแล้วยกขาขึ้น (lying leg raises) (334) หรือ ท่าปีนเขา (mountain climbers) (177) เพื่อฝึกกล้ามเนื้อกลางลําตัว ด้วยลักษณะของท่าที่ออกไม่หนักมาก จึงเหมาะสําหรับทั้งมือใหม่และนักออกกําลังกายระดับสูง นอกจากนี้ยังเข้ากันได้ดีกับ ออกกำลังกายแบบเซอร์กิต เทรนนิ่ง (circuit training) (157) ที่สลับการออกกําลังกายอื่น ๆ เพื่อฝึกทั่วร่างกาย
ประโยชน์ของท่า Reverse Crunches
นอกจากเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อกลางลําตัวแล้วท่านี้ยังมีประโยชน์ดังนี้
- ปรับปรุงท่าทาง
- เพิ่มความสมดุลและเสถียรภาพ
- ช่วยการเคลื่อนไหวที่ต้องยก งอ และบิดตัว
- ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหลัง โดยการเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบๆ
ท่านี้เป็นท่าออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลางลําตัว ปรับปรุงท่าทาง และเพิ่มความสมดุลให้กับร่างกาย นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนและพลิกแพลงแบบต่างๆ โดยการนําอุปกรณ์เสริมมาใช้ได้ เช่น ยางยืดออกกำลังกาย หรือลูกบอลโยคะ เป็นต้น
อ้างอิง :
- Healthline – The Benefits of a Reverse Crunch and How to Do It Correctly.
https://www.healthline.com/health/reverse-crunches - wikiHow – How to Do Reverse Crunches: 11 Steps (with Pictures)
https://www.wikihow.com/Do-Reverse-Crunches - TODAY – How to Do a Reverse Crunch For the Best Ab Workout.
https://www.today.com/health/if-regular-crunches-hurt-your-neck-try-reverse-crunches-instead-t219069